• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

เอชไอวี  [HIV]

  • Home
  • จองเวลาตรวจ
  • เอชไอวีและเอดส์
  • การป้องกันเอชไอวี
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • Contact
  • FAQ

ตรวจเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

พฤษภาคม 12, 2022 by HIV Team

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร

เอชไอวีเป็นเชื้อที่มีความร้ายแรง และน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการไหน หรือยาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ทั้งยังในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้คนส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจ การติดเชื้อเอไอวีนั้น สามารถติดต่อกันได้โดยง่าย จนทำให้คนหลายคนมีความกังวล เมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้ผ่านทางใดได้บ้าง เพื่อการปฏิบัติตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

เอชไอวี (HIV) 

เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือ ระยะท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น 

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร ?

เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำนม อสุจิ น้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย รวมถึงของเหลวในช่องคลอด และทวารหนัก คนทั่วไปติดเชื้อเอชไอวีได้ หากสารคัดหลั่งเหล่านี้สัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผล หรือบริเวณเยื่อเมือกบุผิวภายในทวารหนัก ช่องคลอด องคชาติของเพศชาย และในช่องปาก

โดยมีสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีดังนี้

สาเหตุที่พบHIVได้บ่อย

สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัยป้องกัน หรือรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี การร่วมเพศทางทวารหนักกับผู้ติดเชื้อโดยเป็นฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงสูงสุด แต่ฝ่ายรุกก็ติดเชื้อได้เช่นกัน ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดนั้น มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งฝ่ายรับ และฝ่ายรุกไม่ต่างกัน ทั้งนี้ ฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะเสี่ยงมากกว่าฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด

ถ้าไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิงก็ตาม จะเป็นช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ได้ทั้งนั้น  เพราะส่วนใหญ่แล้ว 80% ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะรับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์

  • การใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์เตรียมฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วได้นานถึง 42 วัน หากมีอุณหภูมิและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะพบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้เสพยาแบบฉีดยาเข้าเส้น

สาเหตุที่อาจพบได้บ้าง ได้แก่

  • การที่แม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายมี โอกาสสูงมากที่จะแพร่เชื้อ และถ่ายทอดเชื้อ ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด หลังคลอด หรือผ่านการให้นมบุตร โดยจะมีความเสี่ยงสูง หากแม่ไม่ได้รับประทานยา สำหรับรักษา หรือยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี  หากมีครรภ์แล้วควรปรึกษาคุณหมอ และอยู่ในความดูแลของคุณหมอ โดยที่คุณก็จะสามารถตั้งครรภ์ ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่ และลูก เพราะปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปไกลจนได้มีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ด้วยการทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพียงร้อยละ 8% 
  • ผู้ที่ทำงานกับอุปกรณ์ที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเอชไอวี เช่น เข็มฉีดยา หรือของมีคม 
เกาผิวหนัง

สาเหตุที่พบได้น้อยมาก ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก (oral sex) เป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากว่าฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อเอชไอวีปะปนมา เข้าไปภายในช่องปากของคู่นอน ขณะที่มีการทำ oral sex ซึ่งหากฝ่าย ที่ใช้ปากมีบาดแผลอยู่ภายในปาก ก็จะทำให้ได้รับความเสี่ยงนี้
  • การปลูกถ่ายอวัยวะหรือการบริจาคเลือด ปัจจุบันต้องมีการคัดกรองผู้บริจาคเลือด หรือผู้ที่บริจาคอวัยวะอย่างเข้มงวดมากขึ้น ก่อนที่จะนำมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วย โดยทำการตรวจสอบหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งทุกครั้งก่อนนำไปใช้ เพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้
  • การรับประทานอาหารที่ผ่านการเคี้ยวจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากจะเกิดการปนเปื้อนเชื้อได้หากมีเลือดของผู้ป่วยอยู้ในอาหาร แต่หากผู้ป่วยไม่มีเลือดออกในปากขณะเคี้ยวก็รับประทานอาหารต่อจากผู้ป่วยได้ โดยการติดเชื้อลักษณะนี้พบในทารกเท่านั้น ถึงแม้ความเสี่ยงนี้จะต่ำ แต่ก็ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
  • การถูกกัดโดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ต้องเป็นการกัดที่รุนแรงจนมีเลือดไหล หรือเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังเท่านั้น 
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในสารคัดหลั่ง ซึ่งสามารถเข้าทางบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกภายในช่องปาก
  • การจูบแบบเปิดปาก หากว่าทั้งสองฝ่ายมีบาดแผลภายในช่องปาก หรืออาจจะมีเลือดออกตามไรฟัน  โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี อีกฝ่ายอาจทำให้อีกฝ่ายติดเชื้อเอชไอวีได้ ถึงแม้เชื้อเอชไอวีนั้นไม่ติดต่อกันผ่านทางน้ำลายก็ตาม
  • การสักหรือการเจาะตามร่างกายอาจส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หากได้มีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด โดยการใช้เข็มสักหรือมีการเจาะร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงการใช้หมึกในการสักร่วมกับผู้อื่น หากต้องการสักหรือเจาะร่างกาย ควรสังเกต หรือเลือกร้านที่มีการทำความสะอาด และสุขอนามัยของร้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเข็มสัก หมึกที่ใช้ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งยังควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าร้านดังกล่าวมีใบรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุข
  • การกัด การเกา หรือการบ้วนน้ำลาย ปกติแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่อาจแพร่เชื้อผ่านการกัด หรือการบ้วนน้ำลายได้ เนื่องจากในน้ำลายไม่มีเชื้อเอชไอวี ทว่าหากผู้ป่วยมีแผลในปาก หรือมีเลือดออกตามไรฟัน และกัดผู้อื่นจนผิวหนังฉีกขาด อาจทำให้บุคคลดังกล่าวเสี่ยงติดเชื้อได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ส่วนการเกาผิวหนังนั้นไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นเช่นกัน หากไม่ได้เกาอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลมีเลือดออกหรือทำให้สารคัดหลั่งของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกาย ทางที่ดีผู้ป่วยและผู้ดูแลควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดนเลือดของผู้ติดเชื้อโดยไม่ตั้งใจ

พฤติกรรมที่ไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การกอด การจับมือ หรือการจูบแบบปิดปากกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • การใช้ห้องน้ำ หรือจานชามร่วมกับผู้ติดเชื้อเอสไอวี
  • การสัมผัสกับเหงื่อ น้ำตา หรือน้ำลาย ที่ไม่มีเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวีปนเปื้อนอยู่
  • การถูกยุง หรือแมลงที่ดูดเลือดจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี แล้วมากัดหรือต่อยเรา
  • การหายใจร่วมกัน

เอชไอวี ป้องกันได้หากระมัดระวัง

การติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด จึงควรป้องกันโดยเอาใจใส่พฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยมากขึ้น เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ รวมทั้งรักษาสุขอนามัยโดยหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสเอชไอวี หากเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อติดเชื้อเอชไอวี 

ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้น ควรรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลา เพราะนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้อีกด้วย

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • 3 ปัจจัย ของความเสี่ยงต่อการติดเอชไอวี HIV
  • การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • เอดส์ ติดต่อได้อย่างไร เรื่องควรรู้เพื่อการป้องกันอย่างถูกวิธี https://www.pobpad.com/เอดส์-ติดต่อได้อย่างไร-เ
  • โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร https://www.thaimedicalplus.com/โรคเอดส์ติดต่ออย่างไร/
  • โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร เรียนรู้ให้เข้าใจ และป้องกันอย่างถูกวิธี https://www.thaihivtest.com/โรคเอดส์ติดต่ออย่างไร/

Filed Under: การป้องกันเอชไอวี, การรักษาเอชไอวี / เอดส์, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: HIV, สาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวี, เชื้อไวรัสเอชไอวี, เอชไอวี

ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

เมษายน 10, 2022 by HIV Team

ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ

U=U คืออะไร

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

หมายถึง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แล้วกินยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้มีจำนวนลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจหาไวรัสในเลือดพบ คือ ผลการตรวดวัดเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อมีค่าน้อยกว่า 50 copies/mm3 (อาจมีค่าน้อยกว่า 40 หรือ 20 copies/mm3 ขึ้นกับความสามารถของชุดตรวจ)  และมีหลักฐานชัดเจนว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง แม้จะไม่ได้หายขาดจากโรคเอดส์ หรือทางเพศสัมพันธ์แม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไร

การที่จะสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้  กรณีที่จะตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป

ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางบุคคลอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไป ซึ่งการตรวจเอชไอวีที่ดีนั้น จะมีระยะเวลา และวิธีที่เหมาะสม และเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมา โดยประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับความเสี่ยง ถึงจะค่อนข้างน่าเชื่อถือ สำหรับการตรวจรอบแรก การตรวจเอชไอวีรอบแรกหากตรวจไม่พบ ก็ควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส

ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ 

การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนของกลุ่มคน U = U มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร

ความเสี่ยงยังมีอยู่ เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม U = U อาจจะป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ยังมีความเสียงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่สามารถป้องกันได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยในกลุ่มคน U = U

ถ้าจะไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับคู่ของตนเอง เพราะเหตุจำเป็น เช่น ไม่มีถุงยาง ถุงยางแตก หรืออยากมีบุตรตามธรรมชาติ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นกังวลหรือโทษตัวเอง และเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีความมั่นใจและชีวิตครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ส่วนการตัดสินใจว่าจะใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และการยินยอมพร้อมใจกันของคนทั้ง 2 คน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร เป็นกังวลเรื่องอะไร เช่น เป็นกังวลเรื่องตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ การอยู่ในสถานะตรวจไม่เจอเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ ถ้าไม่ใส่ถุงยางอนามัย  เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้

การติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อนในกลุ่มคน U=U

ตั้งแต่มีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสอย่างแพร่หลายในปจจุบัน พบว่ายังไม่มีรายงานการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อน หรือติดเชื้อดื้อยา จากคนอื่นในผู้ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พอเชื้อแล้วเลย

U=U เหมาะกับใคร

– เหมาะกับคนที่ติดเชื้อเอชไอวีที่กินยาอย่างถูกต้อง ที่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีให้ใครได้อย่างแน่นอน

– เหมาะกับคู่ของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี U=U แล้ว เพราะ มั่นใจได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด

ประโยชน์U=U

ประโยชน์ของ U = U

  • สำหรับผู้ติดเชื้อ
    มีแรงจูงใจในการกินยาต่อเนื่อง หมั่นไปตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดทุกปีตามสิทธิ์ และทำให้รับรู้สถานะของตนว่า ตรวจไม่เจอจริงหรือไม่ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น มีครอบครัวได้ สุขภาพจิตดีขึ้น มีความมั่นใจตนเองมากขึ้น กล้าตัดสินใจเปิดเผยผลเลือดของตนให้คู่นอนทราบ กล้าชวนคู่ไปตรวจเอชไอวี กล้าตัดสินใจตั้งครรภ์ และเลิกโทษตัวเองว่าอาจเป็นเหตุทำให้คู่ของตนติดเชื้อ เพราะไม่สามารถใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง รวมถึงลดความกลัวในการคุยกับหมอ เช่น หากหมอถามว่าใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งหรือเปล่า ก็ตอบว่าใส่ทุกครั้งเพราะเกรงใจหมอ ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ทุกครั้ง
  • สำหรับคนทั่วไป
    ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือผู้ที่ไม่เคยไปตรวจเลือดเลย กล้าที่จะไปตรวจและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาในทันทีหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่รักษาจนตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ป่วยแล้ว ยังสามารถมีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป
  • สำหรับสังคม 
    เมื่อสังคมมีความเข้าใจเรื่อง U = U แล้ว อาจทำให้การรังเกียจ และกีดกันผู้ติดลดลง สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่มีเหตุผลในการห้ามไม่ให้เข้าทำงาน เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาแล้ว ไม่เป็นอันตรายต่อคู่นอนของเขาแม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ตาม และไม่เป็นอันตรายต่อคนในที่ทำงาน อีกทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเท่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ติดเชื้อ และไม่เพิ่มภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับองค์กร เพราะรัฐรับภาระการรักษาพยาบาลให้ผู้ติดเชื้อทุกคน  

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อHIV ที่เป็นกลุ่ม U=U

คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีต่อเนื่องตรงเวลาจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จึงจะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้ แต่ความเป็นจริงเชื้อยังคงอยู่ในเลือดอยู่ และผู้ติดเชื้อยังต้องกินยาต้านไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การทานยาต้านก็เป็นเพียงการรักษา และป้องกันเอชไอวีเท่านั้น 

แต่อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เมื่อไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะ กรณีแม่ที่ติดเชื้อแม้ผลเลือดจะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ยังคงต้องกินยา ลูกที่คลอดออกมาก็ต้องกินยาป้องกันเหมือนเดิม รวมไปถึงการที่แม่ผู้ติดเชื้อไม่สามารถให้นมบุตรได้ เพราะเชื้อเอชไอวียังถูกส่งผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้อยู่ถึงแม้ว่าผลเลือดของแม่จะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ตาม  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ

เพราะฉะนั้นการไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีเร็วจึงมีประโยชน์ ทำให้ทราบสถานะผลเลือดโดยเร็ว เมื่อผลเลือดบวกก็เข้าสู่การรักษาโดยเร็ว ทำให้มีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนที่ไม่มีเชื้อ และต้องเน้นย้ำกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ผลเลือดตรวจไม่เจอเชื้อ แต่ในร่างกายยังคงมีเชื้อเอชไอวี หากยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ การใช้ยา PrEP / PEP ก็ไม่สามารถให้ผลป้องกันได้ 100% และการใช้ถุงยางอนามัยยัง ก็ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ถึงแม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจเอชไอวี(HIV)
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U https://www.redcross.or.th/news/information/9847/
  • รู้ทันเอชไอวี U=U คืออะไร https://th.trcarc.org/uu-คืออะไร/
  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นจากอะไร https://www.thaihivtest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • U=U คืออะไร และการทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อ HIV https://mobile.swiperxapp.com/pmt-article-uu-hiv/

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์, ตรวจเอชไอวี, ยาต้านไวรัสเอชไอวี, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: U=U, Undetectable = Untransmittable, ตรวจเอชไอวีไม่เจอ, ยาต้านไวรัส, ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

วิธีการเลือกชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองให้ได้มาตรฐาน

สิงหาคม 10, 2021 by HIV Team

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่างกับหลาย ๆ อุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด เช่นเดียวกับวงการแพทย์ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนเพิ่มศักยภาพให้กับการตรวจ การรักษา ตลอดจนการดูแลผู้ป่วย ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึง “ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง” หนึ่งในทางเลือกที่ผู้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่าย แตกต่างจากเมื่อ 40 ปีก่อน ที่ทั้งแพทย์ นักวิจัย และมนุษย์โลกเราได้รู้จักกับโรคเอดส์และเชื้อไวรัสเอชไอวีเป็นครั้งแรก ไวรัสเอชไอวีได้คร่าชีวิตผู้ป่วยไปมากมายในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

จนในที่สุดเมื่อปี 2556 เราก็สามารถคิดค้น ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ได้แล้ว ด้วยลักษณะการตรวจที่ง่ายดายและสะดวกสบาย หากใครที่ยังนึกไม่ค่อยออกให้ลองจินตนาการถึงชุดตรวจการตั้งครรภ์ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่อาจแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองจะใช้การเจาะเลือดจากปลายนิ้ว หรือ ใช้น้ำลาย เท่านั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนฟังดูแล้วอาจมองว่าการตรวจด้วยตนเองนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เชื่อถือ รวมถึงมองว่าอาจตกเป็นเหยื่อชุดตรวจปลอมหรือไม่ผ่านมาตรฐานได้ง่าย เนื่องจากปัจจุบันมีการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากมาย จนไม่สามารถรู้ได้ว่าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองแบบไหนที่ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำจริง ๆ ข้อสงสัยนี้จะหมดไปหากใช้วิธีการเลือกที่เราได้รวบรวมมาให้ดังต่อไปนี้

วิธีการเลือกชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

สำหรับใครหลาย ๆ คนที่ไม่มีความมั่นใจว่าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง มีความปลอดภัยและน่าเชื่อเทียบเท่าการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ สามารถนำวิธีที่เราได้รวบรวมให้ไปปรับใช้ได้ง่าย ๆ หรือนำไปประกอบการพิจารณา ตลอดจนแนะนำให้กับคนใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นเดียวกัน

  • มองหาช่องทางการจัดจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ

การเลือกช่องทางการซื้อชุดตรวจเอชไอวีเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ หากไม่มีความน่าเชื่อถือแล้วล่ะก็ ผลลัพธ์การตรวจที่ได้รับอาจทำให้ผู้ตรวจเข้าใจไปในทางที่ผิด และอาจนำมาสู่ปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ ทางที่ดีแนะนำว่าให้เลือกชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง จากร้านขายยาที่มีใบรับรองอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามข้อกำหนด พร้อมทั้งมี “เภสัชกร”ประจำการตลอดเวลาที่เปิดทำการ เพื่อรับคำแนะนำในการใช้งานอย่างละเอียดก่อนการตรวจด้วยตัวเอง อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กันหากไม่สะดวกซื้อชุดตรวจจากร้านขายยา ด้วยสาเหตุด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นทราบ การเลือกสั่งซื้อชุดตรวจผ่านอินเทอร์เน็ตหรือช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ อาจเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างใช้การพิจารณาที่ถี่ถ้วนมากขึ้นกว่าเดิมเป็น 2 เท่า แนะนำให้ศึกษาและสืบค้นตัวตนของตัวแทนจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ มีช่องทางการติดต่อที่แท้จริง รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของสินค้าโดยการเปรียบเทียบหลาย ๆ แห่งไปด้วยจะยิ่งช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น

  • ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองต้องได้รับมาตรฐานสากล

หากพิจารณาแล้วว่าแหล่งจัดจำหน่ายมีความน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นต้องมาดูกันที่ประเด็นของมาตรฐานชุดตรวจเอชไอวีว่าผ่านการรับรองจากหน่วยงานสากลหรือไม่ เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ การมองหาสัญลักษณ์เกี่ยวกับการรับรองจะช่วยได้มากขึ้น ตัวอย่างจาก INSTI ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองที่ได้มาตรฐานจากแคนาดา จะต้องมีการยืนยันว่าผ่านการรับรองจาก Health Canada (กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา) มาตรฐาน European Conformity : CE (ใบรับรองตามเครื่องหมายการรับรองผลิตภัณฑ์ในตลาดร่วมยุโรป) และ WHO Pre-Qualified (มาตรฐานสากลจาก​องค์การอนามัยโลก) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามาตรฐานดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วโลก

  • ชุดตรวจผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองจะรับการรับรองจากสากลแล้ว อย่าลืมว่าต้องได้รับอนุญาตในไทยด้วย ดังนั้นสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย อย. จากคณะกรรมการอาหารและยาแล้วย่อมการันตีได้มากขึ้นว่ามีความปลอดภัยและผลตรวจเป็นที่น่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน

  • ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองควรมีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน

ก่อนที่จะทำการตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง จะต้องมั่นใจก่อนว่าข้อมูลแนะนำต่าง ๆ มีให้อ่านศึกษาอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นคำอธิบายอุปกรณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนขึ้นตอนสุดท้าย การอ่านผลตรวจ และข้อควรระวังต่าง ๆ เนื่องจากชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนั้นคุณจะต้องดำเนินการตรวจด้วยตัวเองทั้งหมด การอ่านทำความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญมาก หากคลาดเคลื่อนในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งอาจส่งผลต่อผลการตรวจได้นั่นเอง

  • ตรวจสอบชุดตรวจเอชไอวีว่ามีความสมบูรณ์ไม่ชำรุด

ก่อนทำการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ให้มาก่อน ว่ามีความสมบูรณ์ไม่ชำรุดเสียหาย เพื่อให้การตรวจมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยการสังเกตลักษณะของหีบห่ออุปกรณ์ ไม่มีการฉีกขาด น้ำยาต่าง ๆ ไม่มีการรั่วไหล ที่สำคัญคืออุปกรณ์ทุกชิ้นจะต้องสะอาดพร้อมใช้งาน

  • มีการแนะนำช่องทางการติดต่อเกี่ยวกับสินค้า

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองที่ดีจะต้องมีข้อมูลสำหรับการติดต่อ สอบถามข้อมูล รวมถึงให้คำติชมได้ผ่านช่องทางที่สะดวก เพราะหากผู้ใช้มีข้อสงสัยในเรื่องที่ไม่ได้ระบุไว้ในฉลากชุดตรวจ ก็สามารถสอบถามได้อีกทาง เช่น เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หรือ สื่อโซเชียลมีเดียของตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ชุดตรวจเอชไอวีที่ได้มาตรฐาน และไม่อยากเสียเวลาหาข้อมูลเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือต่าง ๆ แนะนำว่า INSTI ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เป็นทางเลือกที่มั่นใจได้ 100% เนื่องจากได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากแคนาดา  Health Canada, CE, WHO Pre-Qualified, อย. (คณะกรรมการอาหารและยาประเทศไทย) โดยสามารถสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญได้สะดวกง่ายดาย  อีกทั้งยังสั่งซื้อได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Website Facebook และแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำ

Filed Under: ตรวจเอชไอวี, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: ตรวจเลือด, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Primary Sidebar

เรื่องล่าสุด

  • โรคฝีดาษลิง โรคจากสัตว์สู่คนที่ต้องระวัง
  • ซิฟิลิส รู้ทัน ป้องกันได้
  • วิธีสังเกตุผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • เอชไอวี/เอดส์ กับความเชื่อผิด ๆ
  • เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

Copyright © 2022 เอชไอวี [HIV]