• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

เอชไอวี  [HIV]

  • Home
  • จองเวลาตรวจ
  • เอชไอวีและเอดส์
  • การป้องกันเอชไอวี
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • Contact
  • FAQ

การรักษาเอชไอวี / เอดส์

วิธีสังเกตุผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

มิถุนายน 7, 2022 by HIV Team

วิธีสังเกตุผื่นเอชไอวี

ผื่นที่ผิวหนัง เป็นอาการทั่วไปเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีขึ้น อาการมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรก และมักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างก่าย ซึ่งอาการผื่นอาจไม่ได้เป็นเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ด้วย

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี

อาจจะเรียกว่า ผื่นเอชไอวี หรือเอดส์เฉียบพลัน  เป็นผื่นเอชไอชวีเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผื่นจะปรากฏในส่วนเดียว หรือหลายส่วนของร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผืนด้วย 

วิธีการสังเกตผื่น มีดังนี้

สังเกตดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง โดยความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า ผื่นแพ้ยา

สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ ซึ่งผื่นที่เกิดจากเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อเอชไอวี ผ่านทางผื่นสู่คนอื่นได้

สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่นเอชไอวี

ผื่นเอชไอวีจะมีอาการเจ็บ และคัน ในช่วงเวลาที่ ผื่นปรากฏและจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นอาการเริ่มแรกของการติดเชื้อเอชไอวี อาการเหล่านี้

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • แผลในปาก
  • มีไข้ และปวดหัว
  • ท้องเสีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ตะคริวและปวดตามร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต และบวม
  • สายตาเบลอหรือพร่ามัว
  • ไม่อยากอาหาร
  • ปวดตามข้อ
  • ความเมื่อยล้า
  • อาการเจ็บคอ
  • สูญเสียความกระหาย
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุของผื่นจากเชื้อเอชไอวี

ผื่นเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง จะเกิดขึ้นในระยะไหนของการติดเชื้อก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว มีผื่นจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับเชื้อ เป็นระยะที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงในตัวอย่างเลือด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้จากการตรวจเลือด แต่บางคนก็อาจจะไม่ผ่านขั้นตอนนี้ แต่จะมีผื่นขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัสไปถึงระยะอื่นแล้วก็ได้

และนอกจากนี้ผื่นเอชไอวี ยังอาจเป็นอาการแพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็ได้ เช่น Amprenavir Abacavir และ Nevirapine อาจก่อให้เกิดผื่นเอชไอวี ได้

ในช่วงของการติดเชื้อเอชไอวี ในระยะที่สาม คุณอาจจะมีผื่นขึ้นเนื่องจากผิวหนังอักเสบ ผื่นเอชไอวี ชนิดนี้จะเป็นสีชมพูหรือออกแดงๆ และคัน มักจะขึ้นเป็นเวลา 1-3 ปีและมักจะขึ้นตรงขาหนีบ รักแร้ หน้าอก ใบหน้า และหลัง

ตรวจเลือดผลเป็นบวก

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี

ถ้าคุณมีผื่นขึ้นเล็กน้อย ให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

หากยังไม่ได้ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี แพทย์ก็อาจจะตรวจเพื่อดูว่าได้รับเชื้อไวรัสหรือเปล่า ถ้าผลเป็นลบ ก็อาจจะหาสาเหตุอื่นต่อไปว่า ผื่นที่เกิดขึ้นจากการปฏิกิริยาแพ้อาหารหรือปัจจัยอื่นๆ หรือไม่ และอาจจะมีปัญหาผิวหนังอักเสบก็ได้

ถ้าผลออกมาเป็นบวก แพทย์อาจจะสั่งยาต้านและรักษาเชื้อเอชไอวี ทำให้มีผื่นขึ้นเล็กน้อย แต่ผื่นจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

เพื่อให้อาการของผื่นลดลงโดยเฉพาะอาการคัน แพทย์อาจจะสั่งสารต้านฮิสทามีน เช่น Benadryl หรือ Atarax หรือครีมที่มีส่วนประกอบของคอร์ติโคสตีรอยด์ให้เพื่อรักษาอาการคันที่ผื่นได้

เข้ารับการรักษาทันทีหากอาการผื่นรุนแรง

ผื่นบางชนิดอาจจะมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่บางชนิดอาจจะทำให้เกิดการทำลายผิวหนังอย่างรุนแรง และทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้  อาการผื่นขึ้นอย่างรุนแรงยังอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ของเชื้อไวรัส เช่น มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ และแผลในปากด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ปรึกษาแพทย์หากอาการแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรับประทานยา

บางคนอาจจะมีภาวะภูมิไวเกินต่อยาบางตัว ทำให้อาการติดเชื้อ HIV รวมทั้งผื่น HIV แย่ลง แพทย์อาจจะสั่งให้หยุดยา และให้ยาตัวอื่นที่สามารถกินแทนได้ โดยอาการของภาวะภูมิไวเกินมักจะหายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง ชนิดของยาต้านไวรัสมี 3 ชนิดหลัก ๆ ที่อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้ก็คือ 

  • NNRTIs
  • NRTIs
  • PIs
  • NNRT เช่น nevirapine (Viramune) เป็นยาที่ทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้บ่อยที่สุด Abacavir (Ziagen) เป็นยา NRTI ที่อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง PIs และ amprenavir (Agenerase) กับ tipranavir (Aptivus) ก็อาจทำให้ผื่นขึ้นได้เช่นเดียวกัน

อย่ารับประทานยาที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ถ้าแพทย์แนะนำให้คุณหยุดกินยา เนื่องจากภาวะภูมิไวเกิน หรืออาการแพ้ ก็อย่ากินยานั้นอีก เพราะการกินยาตัวนั้นอีกครั้งเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าเดิมที่อาจลุกลาม และทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมมาก

ถามแพทย์เรื่องการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดผื่น

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มักเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคพุพอง รูขุมขนที่หนังศีรษะอักเสบ ฝี เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ จุดฝีเล็กๆ และแผลเปื่อย ควรสอบถามแพทย์เพิ่มเติม

ทายาแก้ผื่นคัน

รักษาอาการผื่นด้วยตัวเอง

ใช้ยาทาที่ผื่น

แพทย์อาจจะสั่งยาทาต้านอาการแพ้ หรือยาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง หรือคัน หรืออาจจะซื้อครีมที่เป็นสารต้านฮิสทามินตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการก็ได้ ทาครีมตามที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์

การใช้ยาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น การใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรือ diphenhydramine (Benadryl) นั้นอาจจะช่วยลดอาการคัน และขนาดของผื่นได้ ผื่นที่รุนแรงกว่านั้นอาจจะต้องใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่าย

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรืออากาศหนาวเกินไป

ทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่นเอชไอวี และอาจทำให้ผื่นยิ่งแย่ลงได้ เช่น ถ้าออกไปข้างนอก ให้ทาครีมกันแดดทั่วร่างกายเพื่อปกป้องผิวหนังหรือใส่เสื้อแขนยาวกับกางเกงขายาว หรืออยู่ในที่ที่อากาศหนาวมากๆ ให้ใส่เสื้อโค้ตและเสื้อผ้าอุ่นๆ เวลาออกไปข้างนอกเพื่อไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับความหนาวเย็นมากเกินไป

อาบน้ำเย็น

น้ำร้อนจะทำให้ผื่นระคายเคือง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัวด้วยน้ำร้อน แล้วเปลี่ยนไปแช่น้ำเย็นหรือเช็ดตัวเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวแทน  โดย อาจจะอาบน้ำฝักบัว หรือแช่อ่างอาบน้ำในน้ำที่ค่อนข้างอุ่นและใช้การเช็ดแทนการถูตัว และทามอยเจอไรเซอร์ธรรมชาติ เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว หรือว่านหางจระเข้ทันที ที่อาบน้ำเสร็จเพื่อช่วยเยียวยาผิวได้

เปลี่ยนมาใช้สบู่อ่อนๆ หรือสบู่สมุนไพร

สบู่ที่มีสารเคมีอาจทำให้ผิวระคายเคืองและทำให้ผิวแห้งและคัน  ควรหาสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก หรือสบู่สมุนไพร หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีจำพวกปิโตรเลียม ได้แก่ Methyl- Propyl- Butyl- Ethylparaben และ Propylene Glycol เพราะทั้งหมดนี้เป็นวัตถุดิบสังเคราะห์ที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือทำให้เกิดอาการแพ้

ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ

เสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ หรือใยผ้าที่ไม่ระบายอากาศอาจทำให้คุณเหงื่อออกและทำให้ผิวยิ่งระคายเคืองกว่าเดิม การใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปก็อาจทำให้ เสื้อผ้าถูกับผิว และทำให้ผื่นเอชไอวีแย่ลงตามไปด้วย

รับประทานยาต้านไวรัสต่อ

ควรกินยาต้านเอชไอวี ตามที่แพทย์สั่ง เพราะยาจะออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะยาจะช่วยให้ค่า t-cell ดีขึ้น และรักษาอาการอย่างผื่นเอชไอวี ได้ หากคุณไม่แพ้ยาต้านไวรัสเหล่านั้น

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • วิธีการ สังเกตผื่นที่เกิดจากเชื้อ HIV https://th.wikihow.com/สังเกตผื่นที่เกิดจากเชื้อ-HIV
  • ผื่นเอชไอวีหรือเอดส์เฉียบพลัน https://www.icare-thai.com/article/33/quotquotผื่นเอชไอวีหรือเอดส์เฉียบพลันquotquot

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: ผื่นที่ผิวหนัง, ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี, เชื้อเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

พฤษภาคม 12, 2022 by HIV Team

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร

เอชไอวีเป็นเชื้อที่มีความร้ายแรง และน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการไหน หรือยาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ทั้งยังในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้คนส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจ การติดเชื้อเอไอวีนั้น สามารถติดต่อกันได้โดยง่าย จนทำให้คนหลายคนมีความกังวล เมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้ผ่านทางใดได้บ้าง เพื่อการปฏิบัติตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

เอชไอวี (HIV) 

เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือ ระยะท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น 

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร ?

เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำนม อสุจิ น้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย รวมถึงของเหลวในช่องคลอด และทวารหนัก คนทั่วไปติดเชื้อเอชไอวีได้ หากสารคัดหลั่งเหล่านี้สัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผล หรือบริเวณเยื่อเมือกบุผิวภายในทวารหนัก ช่องคลอด องคชาติของเพศชาย และในช่องปาก

โดยมีสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีดังนี้

สาเหตุที่พบHIVได้บ่อย

สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัยป้องกัน หรือรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี การร่วมเพศทางทวารหนักกับผู้ติดเชื้อโดยเป็นฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงสูงสุด แต่ฝ่ายรุกก็ติดเชื้อได้เช่นกัน ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดนั้น มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งฝ่ายรับ และฝ่ายรุกไม่ต่างกัน ทั้งนี้ ฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะเสี่ยงมากกว่าฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด

ถ้าไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิงก็ตาม จะเป็นช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ได้ทั้งนั้น  เพราะส่วนใหญ่แล้ว 80% ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะรับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์

  • การใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์เตรียมฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วได้นานถึง 42 วัน หากมีอุณหภูมิและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะพบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้เสพยาแบบฉีดยาเข้าเส้น

สาเหตุที่อาจพบได้บ้าง ได้แก่

  • การที่แม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายมี โอกาสสูงมากที่จะแพร่เชื้อ และถ่ายทอดเชื้อ ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด หลังคลอด หรือผ่านการให้นมบุตร โดยจะมีความเสี่ยงสูง หากแม่ไม่ได้รับประทานยา สำหรับรักษา หรือยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี  หากมีครรภ์แล้วควรปรึกษาคุณหมอ และอยู่ในความดูแลของคุณหมอ โดยที่คุณก็จะสามารถตั้งครรภ์ ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่ และลูก เพราะปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปไกลจนได้มีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ด้วยการทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพียงร้อยละ 8% 
  • ผู้ที่ทำงานกับอุปกรณ์ที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเอชไอวี เช่น เข็มฉีดยา หรือของมีคม 
เกาผิวหนัง

สาเหตุที่พบได้น้อยมาก ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก (oral sex) เป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากว่าฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อเอชไอวีปะปนมา เข้าไปภายในช่องปากของคู่นอน ขณะที่มีการทำ oral sex ซึ่งหากฝ่าย ที่ใช้ปากมีบาดแผลอยู่ภายในปาก ก็จะทำให้ได้รับความเสี่ยงนี้
  • การปลูกถ่ายอวัยวะหรือการบริจาคเลือด ปัจจุบันต้องมีการคัดกรองผู้บริจาคเลือด หรือผู้ที่บริจาคอวัยวะอย่างเข้มงวดมากขึ้น ก่อนที่จะนำมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วย โดยทำการตรวจสอบหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งทุกครั้งก่อนนำไปใช้ เพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้
  • การรับประทานอาหารที่ผ่านการเคี้ยวจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากจะเกิดการปนเปื้อนเชื้อได้หากมีเลือดของผู้ป่วยอยู้ในอาหาร แต่หากผู้ป่วยไม่มีเลือดออกในปากขณะเคี้ยวก็รับประทานอาหารต่อจากผู้ป่วยได้ โดยการติดเชื้อลักษณะนี้พบในทารกเท่านั้น ถึงแม้ความเสี่ยงนี้จะต่ำ แต่ก็ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
  • การถูกกัดโดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ต้องเป็นการกัดที่รุนแรงจนมีเลือดไหล หรือเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังเท่านั้น 
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในสารคัดหลั่ง ซึ่งสามารถเข้าทางบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกภายในช่องปาก
  • การจูบแบบเปิดปาก หากว่าทั้งสองฝ่ายมีบาดแผลภายในช่องปาก หรืออาจจะมีเลือดออกตามไรฟัน  โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี อีกฝ่ายอาจทำให้อีกฝ่ายติดเชื้อเอชไอวีได้ ถึงแม้เชื้อเอชไอวีนั้นไม่ติดต่อกันผ่านทางน้ำลายก็ตาม
  • การสักหรือการเจาะตามร่างกายอาจส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หากได้มีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด โดยการใช้เข็มสักหรือมีการเจาะร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงการใช้หมึกในการสักร่วมกับผู้อื่น หากต้องการสักหรือเจาะร่างกาย ควรสังเกต หรือเลือกร้านที่มีการทำความสะอาด และสุขอนามัยของร้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเข็มสัก หมึกที่ใช้ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งยังควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าร้านดังกล่าวมีใบรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุข
  • การกัด การเกา หรือการบ้วนน้ำลาย ปกติแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่อาจแพร่เชื้อผ่านการกัด หรือการบ้วนน้ำลายได้ เนื่องจากในน้ำลายไม่มีเชื้อเอชไอวี ทว่าหากผู้ป่วยมีแผลในปาก หรือมีเลือดออกตามไรฟัน และกัดผู้อื่นจนผิวหนังฉีกขาด อาจทำให้บุคคลดังกล่าวเสี่ยงติดเชื้อได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ส่วนการเกาผิวหนังนั้นไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นเช่นกัน หากไม่ได้เกาอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลมีเลือดออกหรือทำให้สารคัดหลั่งของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกาย ทางที่ดีผู้ป่วยและผู้ดูแลควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดนเลือดของผู้ติดเชื้อโดยไม่ตั้งใจ

พฤติกรรมที่ไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การกอด การจับมือ หรือการจูบแบบปิดปากกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • การใช้ห้องน้ำ หรือจานชามร่วมกับผู้ติดเชื้อเอสไอวี
  • การสัมผัสกับเหงื่อ น้ำตา หรือน้ำลาย ที่ไม่มีเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวีปนเปื้อนอยู่
  • การถูกยุง หรือแมลงที่ดูดเลือดจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี แล้วมากัดหรือต่อยเรา
  • การหายใจร่วมกัน

เอชไอวี ป้องกันได้หากระมัดระวัง

การติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด จึงควรป้องกันโดยเอาใจใส่พฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยมากขึ้น เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ รวมทั้งรักษาสุขอนามัยโดยหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสเอชไอวี หากเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อติดเชื้อเอชไอวี 

ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้น ควรรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลา เพราะนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้อีกด้วย

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • 3 ปัจจัย ของความเสี่ยงต่อการติดเอชไอวี HIV
  • การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • เอดส์ ติดต่อได้อย่างไร เรื่องควรรู้เพื่อการป้องกันอย่างถูกวิธี https://www.pobpad.com/เอดส์-ติดต่อได้อย่างไร-เ
  • โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร https://www.thaimedicalplus.com/โรคเอดส์ติดต่ออย่างไร/
  • โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร เรียนรู้ให้เข้าใจ และป้องกันอย่างถูกวิธี https://www.thaihivtest.com/โรคเอดส์ติดต่ออย่างไร/

Filed Under: การป้องกันเอชไอวี, การรักษาเอชไอวี / เอดส์, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: HIV, สาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวี, เชื้อไวรัสเอชไอวี, เอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวี

เมษายน 27, 2022 by HIV Team

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่มักจะเกิดขึ้นในผู่ป่วยเอชไอวี

การติดเชื้อโรคฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับคนปกติทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน คือ

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรืออาการภาวะแทรกซ้อนระยะเริ่มต้น คือ ผิวหนังเป็นเริม งูสวัสดิ์ ฝี เชื้อรา ผื่น กลากเกลื้อน แผลเรื้อรัง ลิ้นเป็นฝ้าขาว แบบโรคเชื้อรา เป็นไข้ และไอเรื้อรัง แบบวัณโรคปอด เป็นไข้ ไอ หอบ แบบปอดอักเสบ เป็นไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ก้มไม่ได้ (ก้มยาก) แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขน ขา ชา อ่อนแรง แบบไขสันหลังอักเสบ ซีด มีจุดแดง จ้ำเขียว หรือเลือดออก แบบโรคเลือด ท้องเดินเรื้อรัง แบบมะเร็งลำไส้ใหญ่

วัณโรคในผู้ป่วยเอชไอวี

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่อาจพบได้ และค่อนข้างเป็นอันตราย ได้แก่

  • วัณโรค (Tuberculosis-TB) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำลายปอดและทำให้ให้เยื่อหุ้มอักเสบ วัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่คร่าชีวิตผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก
  • เริม โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้มีการอักเสบบริเวณปากหรืออวัยวะเพศจากการติดเชื้อไวรัส อาจเกิดแผลอักเสบรุนแรงขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องในภาวะเอดส์
  • งูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็กกระจายตามแนวเส้นประสาทซีกหนึ่งของร่างกาย  จะปวดแสบปวดร้อนหรือคัน ต่อมาตุ่มน้ำจะแตก กลายเป็นสะเก็ดและหลุดไป
  • ตุ่มพีพีอี อาจเกิดจากการแพ้ยา ผื่นมักจะแดง นูน กระจายทั่วตัว และคันมาก หรือเกิดจากการแพ้สารเคมีต่างๆ หรือแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด จะมีตุ่มคันรุนแรงกว่าคนปกติ
  • ปอดอักเสบพีซีพี เกิดจากเชื้อรานิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ หรือ พีซีพี ทำให้เป็นโรคปอดบวม
  • เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม 
  • ฝีที่สมอง เกิดขึ้นจากเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่สมองมีลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นฝี หนอง ในเนื้อสมองที่สามารถส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท และสามารถอันตรายร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้หากเกิดการแตกของฝีในสมอง
  • โรคคริปโตค็อกคัสในระบบประสาท  เกิดจากเชื้อราคริปโตค็อกคัส ที่อยู่ในน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะค่อย ๆ เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อรา   ปอดอักเสบจากเชื้อรามักจะพบเชื้อราที่ก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ
  • การติดเชื้อรา และเกิดแผลอักเสบที่บริเวณปาก ภายในลำคอ หรือในช่องคลอด
  • อุจจาระร่วงจากโปรโตซัว   เกิดจากโปรโตซัวเป็นปรสิตเซลล์เดียวที่รบกวนระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้
  • การติดเชื้อฉวยโอกาสจากแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร และน้ำหนักตัวลด
  • การติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส   ทำให้มีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับดวงตาจนอาจนำไปสู่การตาบอด เกิดแผลเป็นหนองอักเสบ และอาการท้องร่วงรุนแรงได้ด้วย
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเอชไอวี จนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งลามไปทั่วต่อมน้ำเหลือง ทั้งบริเวณลำคอ รักแร้ หรือตามข้อพับต่าง ๆ นอกจากนี้ ในบางรายอาจเป็นมะเร็งหลอดเลือดคาโปซี ที่เกิดเซลล์เนื้อร้ายก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อผนังหลอดเลือด เกิดเป็นบาดแผลสีแดง หรือสีม่วงตามผิวหนัง

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • โรคติดเชื้อฉวยโอกาส คืออะไร
  • การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • โรคฉวยโอกาสที่แฝงมากับเอดส์ https://www.facebook.com/livtoyou/posts/1686095878097416/
  • ภาวะแทรกซ้อนของ เอดส์ https://www.pobpad.com/เอดส์/ภาวะแทรกซ้อนของเอดส์

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยโรคเอดส์, ภาวะแทรกซ้อน, โรคติดเชื้อฉวยโอกาส

ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

เมษายน 10, 2022 by HIV Team

ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ

U=U คืออะไร

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

หมายถึง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แล้วกินยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้มีจำนวนลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจหาไวรัสในเลือดพบ คือ ผลการตรวดวัดเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อมีค่าน้อยกว่า 50 copies/mm3 (อาจมีค่าน้อยกว่า 40 หรือ 20 copies/mm3 ขึ้นกับความสามารถของชุดตรวจ)  และมีหลักฐานชัดเจนว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง แม้จะไม่ได้หายขาดจากโรคเอดส์ หรือทางเพศสัมพันธ์แม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เป็นเพราะอะไร

การที่จะสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้  กรณีที่จะตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป

ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางบุคคลอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไป ซึ่งการตรวจเอชไอวีที่ดีนั้น จะมีระยะเวลา และวิธีที่เหมาะสม และเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมา โดยประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับความเสี่ยง ถึงจะค่อนข้างน่าเชื่อถือ สำหรับการตรวจรอบแรก การตรวจเอชไอวีรอบแรกหากตรวจไม่พบ ก็ควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส

ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ 

การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนของกลุ่มคน U = U มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร

ความเสี่ยงยังมีอยู่ เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม U = U อาจจะป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ยังมีความเสียงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่สามารถป้องกันได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยในกลุ่มคน U = U

ถ้าจะไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับคู่ของตนเอง เพราะเหตุจำเป็น เช่น ไม่มีถุงยาง ถุงยางแตก หรืออยากมีบุตรตามธรรมชาติ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นกังวลหรือโทษตัวเอง และเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีความมั่นใจและชีวิตครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ส่วนการตัดสินใจว่าจะใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และการยินยอมพร้อมใจกันของคนทั้ง 2 คน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร เป็นกังวลเรื่องอะไร เช่น เป็นกังวลเรื่องตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ การอยู่ในสถานะตรวจไม่เจอเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ ถ้าไม่ใส่ถุงยางอนามัย  เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้

การติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อนในกลุ่มคน U=U

ตั้งแต่มีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสอย่างแพร่หลายในปจจุบัน พบว่ายังไม่มีรายงานการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อน หรือติดเชื้อดื้อยา จากคนอื่นในผู้ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พอเชื้อแล้วเลย

U=U เหมาะกับใคร

– เหมาะกับคนที่ติดเชื้อเอชไอวีที่กินยาอย่างถูกต้อง ที่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีให้ใครได้อย่างแน่นอน

– เหมาะกับคู่ของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี U=U แล้ว เพราะ มั่นใจได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด

ประโยชน์U=U

ประโยชน์ของ U = U

  • สำหรับผู้ติดเชื้อ
    มีแรงจูงใจในการกินยาต่อเนื่อง หมั่นไปตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดทุกปีตามสิทธิ์ และทำให้รับรู้สถานะของตนว่า ตรวจไม่เจอจริงหรือไม่ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น มีครอบครัวได้ สุขภาพจิตดีขึ้น มีความมั่นใจตนเองมากขึ้น กล้าตัดสินใจเปิดเผยผลเลือดของตนให้คู่นอนทราบ กล้าชวนคู่ไปตรวจเอชไอวี กล้าตัดสินใจตั้งครรภ์ และเลิกโทษตัวเองว่าอาจเป็นเหตุทำให้คู่ของตนติดเชื้อ เพราะไม่สามารถใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง รวมถึงลดความกลัวในการคุยกับหมอ เช่น หากหมอถามว่าใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งหรือเปล่า ก็ตอบว่าใส่ทุกครั้งเพราะเกรงใจหมอ ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ทุกครั้ง
  • สำหรับคนทั่วไป
    ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือผู้ที่ไม่เคยไปตรวจเลือดเลย กล้าที่จะไปตรวจและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาในทันทีหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่รักษาจนตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ป่วยแล้ว ยังสามารถมีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป
  • สำหรับสังคม 
    เมื่อสังคมมีความเข้าใจเรื่อง U = U แล้ว อาจทำให้การรังเกียจ และกีดกันผู้ติดลดลง สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่มีเหตุผลในการห้ามไม่ให้เข้าทำงาน เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาแล้ว ไม่เป็นอันตรายต่อคู่นอนของเขาแม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ตาม และไม่เป็นอันตรายต่อคนในที่ทำงาน อีกทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเท่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ติดเชื้อ และไม่เพิ่มภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับองค์กร เพราะรัฐรับภาระการรักษาพยาบาลให้ผู้ติดเชื้อทุกคน  

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อHIV ที่เป็นกลุ่ม U=U

คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีต่อเนื่องตรงเวลาจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จึงจะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้ แต่ความเป็นจริงเชื้อยังคงอยู่ในเลือดอยู่ และผู้ติดเชื้อยังต้องกินยาต้านไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การทานยาต้านก็เป็นเพียงการรักษา และป้องกันเอชไอวีเท่านั้น 

แต่อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เมื่อไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะ กรณีแม่ที่ติดเชื้อแม้ผลเลือดจะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ยังคงต้องกินยา ลูกที่คลอดออกมาก็ต้องกินยาป้องกันเหมือนเดิม รวมไปถึงการที่แม่ผู้ติดเชื้อไม่สามารถให้นมบุตรได้ เพราะเชื้อเอชไอวียังถูกส่งผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้อยู่ถึงแม้ว่าผลเลือดของแม่จะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ตาม  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ

เพราะฉะนั้นการไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีเร็วจึงมีประโยชน์ ทำให้ทราบสถานะผลเลือดโดยเร็ว เมื่อผลเลือดบวกก็เข้าสู่การรักษาโดยเร็ว ทำให้มีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนที่ไม่มีเชื้อ และต้องเน้นย้ำกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ผลเลือดตรวจไม่เจอเชื้อ แต่ในร่างกายยังคงมีเชื้อเอชไอวี หากยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ การใช้ยา PrEP / PEP ก็ไม่สามารถให้ผลป้องกันได้ 100% และการใช้ถุงยางอนามัยยัง ก็ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ถึงแม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจเอชไอวี(HIV)
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U https://www.redcross.or.th/news/information/9847/
  • รู้ทันเอชไอวี U=U คืออะไร https://th.trcarc.org/uu-คืออะไร/
  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นจากอะไร https://www.thaihivtest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • U=U คืออะไร และการทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อ HIV https://mobile.swiperxapp.com/pmt-article-uu-hiv/

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์, ตรวจเอชไอวี, ยาต้านไวรัสเอชไอวี, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: U=U, Undetectable = Untransmittable, ตรวจเอชไอวีไม่เจอ, ยาต้านไวรัส, ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

การติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก

มีนาคม 27, 2022 by HIV Team

การติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก

ปัจจุบันเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่เกิดขึ้นใหม่ บางส่วนอาจจะเสียชีวิต หรือติดเชื้อจากแม่ และบางส่วนเด็กก็จะกำพร้าพ่อ-แม่ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเด็กบางคนไม่ได้ติดเชื้อแต่กำเนิดจากแม่ที่ติดเชื้อ แต่ปัจจุบันมีการใช้ยาต้านไวรัสป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทำให้มีอัตราเด็กติดเชื้อแรกเกิดใหม่ลดลงมาก

เชื้อเอชไอวี คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โรคเอดส์ คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้

ปริมาณเชื้อเอชไอวี

สาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก

มาจากปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการแพร่เชื้อไปยังเด็กมากที่สุด คือ ปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดของแม่โดยเฉพาะช่วงที่ตั้งครรภ์  ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ระยะโรคที่เป็นมาก ปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำ  มีการติดเชื้อฉวยโอกาส  การสูบบุหรี่ ภาวะซีด หรือการขาดวิตามินเอของหญิงตั้งครรภ์ การที่ลูกคลอดก่อนกำหนด การคลอดทางช่องคลอด และการทำสูติศาสตร์หัตถการบางอย่าง เช่น  การเจาะถุงน้ำคร่ำ  การช่วยคลอดด้วยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ เป็นต้น รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย

การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้ทางไหนบ้าง

ทารกมีโอกาสได้รับเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ได้ 3 ทาง คือ

  1. ขณะตั้งครรภ์
  2. ระหว่างคลอด
  3. หลังคลอด ผ่านทางการกินนมแม่

โอกาสลูกติดเชื้อ HIV จากแม่ ขณะคลอด

  • แม่ที่ไม่ได้กินยาต้านไวรัสเลย ลูกมีโอกาสติดเชื้อ 1 ใน 4
  • แม่ที่ได้กินยาต้านไวรัส อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนคลอด ลูกโอกาสติดเชื้อประมาณ 10%
  • แม่ที่กินยาต้านไวรัส มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อนคลอด โอกาสที่ลูกจะติดเชื้อเหลือน้อยกว่า 2%
  • เด็กทุกรายที่ติดเชื้อ HIV ในปัจจุบัน เกิดจาก แม่ไม่ได้ฝากท้อง จึงติดเชื้อขณะคลอด เมื่อคลอดแล้ว มีการตรวจถึงมารู้ว่าตนเองติดเชื้อ แม่จึงหมดโอกาสปกป้องลูกจากการติดเชื้ออย่างน่าเสียดายมาก
ฝึกให้เด็กกินยา

การดูแลเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี  มีหลักปฏิบัติอย่างไรบ้าง ?

  • เด็กที่ติดเชื้อต้องดูแลสุขภาพทั่วไปให้มีสุขอนามัยที่ดี  เพื่อลดความเสี่ยงต่อ การเจ็บป่วยซ้ำเติม  เพราะภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย  อาจจะไม่ปกติในบางช่วงได้
  • สุขอนามัยควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วัยทารก  ให้อาหารที่สะอาดเพียงพอ ครบทุกหมู่  ระวังอาหารหวาน  และการคานมขวดจนหลับ  เพราะมักเป็นสาเหตุของภาวะฟันผุอย่างแรงได้ การรักษาสุขอนามัยทั่วไป  เช่น  อาบน้ำ  แปรงฟัน  ตัดเล็บ  ล้างมือ  ต้องเน้นย้ำมากกว่าปกติ  แนะนำให้ดื่มน้ำสุกเสมอ  และไม่ให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ต้องมีการสัมผัส  เช่น  สุนัข  แมว  
  • ควรส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย  และมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ไปโรงเรียนตามปกติ  โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โรงเรียนทราบว่าเป็นโรคนี้  แต่ต้องหลีกเลี่ยงภาวะที่ต้องมีการกระทบกระแทกมีเลือดออก  เด็กเหล่านี้สามารถเล่นกีฬาได้ แต่ไม่ควรเล่นกีฬาที่อาจมีการกระทบกระแทกร่างกายได้
  • การฝึกระเบียบวินัยเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะต้องกินยาอย่างเคร่งครัด  ตรงเวลาตลอดชีวิต  การเลี้ยงดูแบบเอาอกเอาใจเกินไป  หรือแบบไม่สนใจ  จะทำให้เด็กมีปัญหาในการดูแลตนเองต่อไป  เด็กที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม  สามารถปรับตัวเองในการกินยาได้ดี  
  • ในเด็กเล็กคำอธิบายที่เหมาะสมกับวัยให้เข้าใจว่าทำไมต้องกินยาโดยยังไม่ต้องบอกชื่อโรค  จะช่วยให้เด็กร่วมมือดีขึ้น  ความรักความอบอุ่นในครอบครัว  จะลดปัญหาการต่อต้านได้  บางครั้งยาที่ใช้ต้องเป็นยาเม็ด  ต้องมีการตัดแบ่งหรือบด  จำเป็นต้องมีการฝึกสอนให้ผู้ปกครองทำได้อย่างถูกต้อง   การกินยาให้ถูกต้องจะลดโอกาสที่เกิดเชื้อดื้อยาได้มาก 

เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจะมีโอกาสใช้ชีวิตแบบเด็กปกติได้หรือไม่ ?

แนวทางการดูแลเด็กเหล่านี้  คือ ทำให้เด็กมีชีวิตใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด  แม้ยาต้านไวรัสทำให้เด็กมีชีวิตยืนยาวจนโตได้ แม้ว่าเด็กที่ติดเชื้อบางคนยังมีความเจ็บป่วย  ผ่ายผอม  และมีสภาพร่างกายที่ไม่ปกติ  

แต่เด็กจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มที่เกิดมาในช่วงที่มียาต้านไวรัสใช้  จะดูภายนอกเหมือนเด็กปกติทุกประการ  สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ  แต่ต้องกินอย่างเคร่งครัดและมาติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ 

พ่อ แม่ป่วย HIV มีลูกได้ไหม ลูกจะติดเชื้อหรือไม่?

พ่อ หรือแม่ที่ติดเชื้อ HIV มีลูกได้อย่างปลอดภัยโดยทารกที่เกิดมาไม่ติดเชื้อเอชไอวีตามพ่อและแม่ได้    

ฝากครรภ์

ผู้ติดเชื้อ HIV ก็มีลูกอย่างปลอดภัยได้

ผู้ติดเชื้อ HIV ก็มีลูกอย่างปลอดภัยได้ นั่นเป็น เพราะยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อ HIV ที่ช่วยป้องกันการส่งผ่านเชื้อไปยังคู่ของตน

เหตุผลทางการแพทย์ว่าการติดเชื้อ HIV ไม่ว่าทาง 

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน 
  • การใช้ของมีคมหรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก 

การติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจ แต่เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาด้วยการกินยาไปตลอดชีวิต และถึงจะไม่มีวันหายจนกลายเป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถควบคุมและจัดการให้มีชีวิตยืนยาวใกล้เคียงคนปกติได้

การปกป้องเด็กไม่ให้ติดเชื้อ คือ แม่ต้องกินยาต้านไวรัสตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ดังนั้นการฝากครรภ์ตั้งแต่ช่วงแรกๆ แม่ท้องจะได้รับการตรวจ รู้เร็ว ได้กินยาเร็ว โอกาสที่ลูกจะติดเชื้อน้อยกว่า 1% หรือจะเรียกว่าแทบจะไม่ติดเชื้อเลยก็ได้ และตัวแม่เองก็มีชีวิตยืนยาวได้ปกติด้วย

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • ป้องกันเอชไอวี HIV
  • การตรวจเอชไอวี(HIV)

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก กับความก้าวหน้าในวันนี้
    https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=833
  • เมื่อเอดส์เกิดมากับลูกน้อย
    https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=702
  • 24 ปีแห่งความก้าวหน้า พ่อ แม่ป่วย HIV มีลูกได้ แนะวิธีไม่ให้ติดเชื้อ ผู้ติดเชื้อ HIV ก็มีลูกอย่างปลอดภัยได้
    https://www.thairath.co.th/scoop/1716445

Filed Under: การป้องกันเอชไอวี, การรักษาเอชไอวี / เอดส์, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: AIDS, HIV, เชื้อเอชไอวี, เอชไอวี, เอชไอวีจากแม่สู่ลูก, เอชไอวีในเด็ก, เอดส์, โรคเอดส์

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์

มกราคม 20, 2022 by HIV Team

เอดส์ เป็นภาวะป่วยขั้นสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่เม็ดเลือดขาวในร่างกายถูกทำลาย ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้กำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจึงควรทำความเข้าใจภาวะของตน และศึกษาวิธีการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อลุกลามไปสู่ภาวะเอดส์ที่เป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

บอกคนรอบข้างว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี

แม้การเปิดเผยตนเองอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดใจ แต่การบอกให้ครอบครัว เพื่อน บุคคลใกล้ชิด หรือคู่นอนทราบว่าตนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทั้งตนเองและคนรอบข้างจะได้เตรียมรับมือและปฏิบัติตัวตามข้อควรระวังหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย

รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้เคร่งครัดตรงเวลา

ผู้ป่วยควรเริ่มรับการรักษาทันทีเมื่อทราบผลว่าตนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี และควรรับประทานยาอย่างเคร่งครัดตรงเวลาเสมอ เพราะยาอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อเอชไอวี ป้องกันระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และลดโอกาสการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการและเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ โดยแพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อติดตามจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกาย สังเกตการตอบสนองต่อการรักษา และอาจรักษาภาวะติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งเป็นภาวะติดเชื้อที่เกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ด้วย

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น

  • ผัก
  • ผลไม้
  • พืชตระกูลถั่ว
  • ธัญพืชไม่ขัดสี
  • แหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ

เพราะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง เป็นผลดีต่อการรักษาด้วยยา ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงและอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ดูแลสุขภาพจิต 

เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวลเป็นอย่างมากหลังจากทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา รวมถึงเข้าร่วมกลุ่มพูดคุยให้คำปรึกษาต่าง ๆ ในท้องถิ่นหรือตามสังคมออนไลน์ เพื่อรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ คลายความกังวล และเสริมสร้างกำลังใจจากผู้ที่เห็นอกเห็นใจหรือมีประสบการณ์เดียวกัน ซึ่งผู้ป่วยสามารถสอบถามข้อมูลด้านนี้เพิ่มเติมได้จากสถานพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วไป

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจดูแลสุขภาพจิตได้โดยการทำจิตใจให้สงบ เช่น การนั่งสมาธิ หรือทำสมาธิจินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกสงบ สบาย จนลืมเรื่องกังวลใจ เป็นต้น

เลิกบุหรี่ 

ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีมีแนวโน้มได้รับผลข้างเคียงต่าง ๆ จากการสูบบุหรี่มากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคปอด และปอดติดเชื้อ เป็นต้น

เลิกใช้ยาเสพติด 

การใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน เฮโรอีน หรือยาบ้า อาจทำให้อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยแย่ลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสพยาด้วยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นอาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ที่อาจทำให้เชื้อเอชไอวีในร่างกายเจริญเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่หากเลิกเสพยาด้วยตนเองไม่ได้ ควรไปปรึกษาแพทย์หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบำบัดรักษาและเลิกใช้ยาเสพติด

ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม 

นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ส่งเสริมสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น 

เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านทางของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น ของเหลวจากช่องทวารหนัก ของเหลวจากช่องคลอด และน้ำนม เป็นต้น ดังนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์

ให้คู่นอนไป ตรวจเลือด และผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวีอยู่เสมอ

ป้องกันตนเองจากการติดเชื้ออื่น ๆ เพิ่มเติม 

หมั่นรักษาสุขภาพปากและฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยควรกลั้วคอและบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ รักษาโรคเหงือกและฟันที่เป็นอยู่ ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ปีละครั้ง ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคที่ปอด เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนปกติ จึงอาจทำให้ติดโรคได้ง่าย

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • ป้องกันเอชไอวี HIV
  • เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน ทานภายใน 72 ชั่วโมง
  • เอชไอวี เอดส์ติดต่อได้ทางใดบ้าง

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์ Tagged With: ตรวจเลือด, เอชไอวี, เอดส์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อฉวยโอกาส

ยาต้านไวรัสเอชไอวี

กันยายน 29, 2021 by HIV Team

เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย

ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร

      ยาต้านไวรัสเอชไอวี เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

     Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องตรวจ HIV ก่อนและมีผลเป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

     ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ใครบ้างควรรับยาต้านไวรัส HIV

    เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ เซลล์ CD4 ลดลง มีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณี ดังนี้

  • การรักษาหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV( Post-Exposure Prophylaxis) ผู้ที่ได้รับสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ โดยผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ให้ยา และจะให้ยานานแค่ไหน ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
  • Primary Infection หมายถึงภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั้งภูมิต่อเชื้อHIV เพิ่มจนสามารถตรวจพบได้ ระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
  • ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีคำแนะนำในการรักษาตามตารางข้างล่าง

ยาต้านหรือยารักษา HIV มีกี่แบบ

ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา HIV หรือที่เรียกว่ายา Antiretroviral (ARV) นั้นที่ใช้กันนั้น ดังนี้

  1. Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (RTIs)  มีกลไกลการยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase ซึ่งเป็นenzymeที่ไว้เปลี่ยน RNA ของเชื้อเป็น DNA เพื่อใช้ในการเข้าสู่ host cell ซึ่งส่งผลทำให้การเชื่อมต่อสารพันธุกรรมของเชื้อหยุดลง เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้  ยาในกลุ่มนี้เช่น AZT (Retrovir), DDI (Videx), DDC (Hivid), 3TC (Epivir), และ D4T (Zerit) enofovir disoproxil fumarate (TDF), Emtricitabine (FTC) เป็นต้น
  2. Protease inhibitors (PIs) มีกลไกรบกวนการทำงานของ Protease ซึ่งทำให้เชื้อไม่สามารถรวมโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้ เช่น Indinavir (Crixivan), Nelfinavir (Viracept), Ritonavir (Norvir), Saquinavir, Lopinavir+Ritonavir (LPV/r)
  3. Non-nucleoside reverse transcriptase Inhibitor (NNRTIs) มีกลไกของยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase เช่นเดียวกับยากลุ่ม NRTIs มียาที่ใช้อยู่ เช่น Delavirdine (Rescriptor), Efavirenz (Sustiva), Nevirapine (Viramune) Efavirenz (EFV), Rilpivirine (RVP)
  4. Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) มีกลไลยับยั้งกระบวนการ integration โดยในยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ integrase ของเชื้อที่ใช้ในการเชื่อมสาย DNA ของตัวเชื้อเข้ากับ host cell ยาในกลุ่มนี้ เช่น Dolutegravir (DTG), Bictegravir (BIC)

ยาต้านไวรัส HIV ต้องทานตอนไหน

     การทานยาต้านแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของยา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ให้คำปรึกษาในการรับยาพิจารณาจากผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยาสูตรใดชนิดใด 

     ซึ่งต้องใช้ตัวยาร่วมกัน 3 ชนิด หรือเรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) จะช่วยให้ผลการรักษาได้ดี ลดการเกิดเชื้อดื้อยา ลดอัตราการป่วยจากภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก

      แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญอย่างมากกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ต้องทานยาต้านไวรัส HIV ไปตลอดไหม

ยาต้านไวรัส ทานเพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว ใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แม้ว่าผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยบางราย หลังจากทานยาต้านไวรัสเป็นเวลานาน จะพบเชื้อน้อยลงจนแทบไม่พบเชื้อ แพทย์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าหายขาดแล้ว ผู้ป่วยต้องทานยาต่อไปตลอดชีวิต  และตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดูแลร่างกายของตัวเองให้ดี ไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงใดๆ ที่อาจมีผลต่อการรักษา ทานยาสม่ำเสมอในทุกวัน

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส HIV

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด   มารับการตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ถ้าพบอาการผิดปกติ เช่น  ท้องอืด  อาเจียน   อ่อนเพลีย   หมดแรง (อาการของภาวะกรดในเลือด)   ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
  • อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจายและสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

ยาต้านไวรัส HIV ราคาเท่าไหร่

  • Abacavir ราคา 840 – 1,500 บาท
  • Darunavir ราคา 4,500 – 7,800 บาท
  • Efavirenz ราคา 210 – 840 บาท
  • Lamivudine ราคา 210 – 540 บาท
  • Tenofovir 300/Emtricitabine ราคา 390 – 2,100 บาท
  • PEP (30 tablets) ราคา 2,500 – 18,200 บาท
  • PrEP (30 tablets) ราคา 1,000 – 3,200 บาท

**ราคาจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานบริการและชนิดของยา**

ยาต้านไวรัส HIV รับได้ที่ไหน

ยาต้านไวรัส HIV ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจาก การรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา หรือสามารถจองผ่าน LOVE2TEST

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • ป้องกันเอชไอวี HIV
  • เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน ทานภายใน 72 ชั่วโมง
  • เอชไอวี เอดส์ติดต่อได้ทางใดบ้าง

#ยาต้านไวรัส #ยาต้านไวรัสเอชไอวี #ยาต้าน #เอชไอวี

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์, ยาต้านไวรัสเอชไอวี, เอชไอวีและเอดส์ Tagged With: pep, ยาต้าน, ยาต้านเอชไอวี, ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, เอดส์

เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน ทานภายใน 72 ชั่วโมง

พฤษภาคม 4, 2020 by admin

ยา PEP หรือที่รู้จักชื่อเต็มว่า Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน หลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน

pep ยาต้าย ฉุกเฉิน

ใครควรได้รับยาเป็ป (PEP)

  • ผู้ที่ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์
  • ถุงยางแตก ฉีกขาด
  • ถุงยางหลุด
  • ผู้ใช้ยาเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

เป๊ป ราคาเท่าไหร่

สำหรับราคาของ PEP ในเมืองไทย มีหลายราคา เริ่มต้นที่ 2000 – 15000 บาท แล้วแต่สถานบริการ และแล้วแต่ แพทย์เป็นผู้จ่าย

PEP ป้องกันเอชไอวีได้กี่ %

ยาเป็ป (PEP) สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้กว่า 80% หากผู้รับบริการคาดว่าเพิ่งสัมผัสเชื้อเอชไอวีมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง และรับยาเป็ป (PEP) เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะว่ายิ่งรับยาเร็ว ยาจะยิ่งมีประสิทธิภาพ

ต้องทาน PEP อย่างไร

การทาน PEP ต้องรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน ตรงเวลาทุกวัน

ลืมทาน PEP ทำอย่างไร

แพทย์จะแนะนำให้ผุ้ทานยาให้รับประทานยาให้ตรงเวลาทุกวัน แต่หากคลาดเคลื่อนไปแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นการลืม หรือปัญหาอื่น ๆ ก็ให้ทานทันที เมื่อนึกขึ้นได้เลย ถ้าลืมเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป ก็ให้ข้ามไปทานในวันถัดไปตามปกติ การกินยาไม่ตรงเวลา อาจลดประสิทธิภาพยาลง ดังนั้น เราควรทานให้ตรงเวลาทุกวัน

ผลข้างเคียงของการทานยา PEP

บางครั้ง บางคน จะมีการอาการ ปวดท้อง ปวดหัว อาเจียน โดยจะเกิดกับบางคนเท่านั้น
อาการเหล่านี้ปกติจะหายไปในระหว่างเอาทิตย์แรกของการกินเป๊ป

ก่อนทาน ยาPEP ต้องตรวจเลือดก่อน

ก่อนจะรับยาเป็ป (PEP) แพทย์จะสั่งตรวจเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยาเป็ป (PEP) (หากติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถใช้ยาเป็ป (PEP) ได้) หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเอชไอวีซ้ำ 1 เดือน และ 3 เดือน งดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

Filed Under: การรักษาเอชไอวี / เอดส์

Primary Sidebar

เรื่องล่าสุด

  • โรคฝีดาษลิง โรคจากสัตว์สู่คนที่ต้องระวัง
  • ซิฟิลิส รู้ทัน ป้องกันได้
  • วิธีสังเกตุผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • เอชไอวี/เอดส์ กับความเชื่อผิด ๆ
  • เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

Copyright © 2022 เอชไอวี [HIV]